#รังสีรักษา

คู่มือการปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับ การรักษาด้วยรังสี

ผู้ป่วยต้องได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการและพบแพทย์สัปดาห์ละครั้งเพื่อประเมินภาวะสุขภาพขณะรับการฉายรังสี

รังสีรักษา, การฉายรังสี, การฉายแสง

เ เป็นวิธีการรักษาโรคมะเร็งโดยใช้รังสีพลังงานสูงฉายไปที่ตำแหน่งของเซลล์มะเร็ง ทำให้เกิดการทำลายดีเอ็นเอ (DNA) ของเซลล์มะเร็งนั้น ขณะรับการรักษาผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ ไม่มีรังสีติดตัวหลังการฉายรังสี

ขั้นตอนการรับบริการฉายแสงที่งานรังสีรักษา

***ระหว่างการฉายผู้ป่วยจะต้องอยู่ในห้องฉายคนเดียว ดังนั้นหลังการจัดท่าตามแผนการรักษาแล้วผู้ป่วยจำเป็นต้องนอนนิ่งๆ จนกระทั่งการฉายเสร็จในแต่ละครั้งเพื่อให้ได้ผลการรักษาตามแผนดีที่สุด***

ผู้ป่วยต้องได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการและพบแพทย์สัปดาห์ละครั้งเพื่อประเมินภาวะสุขภาพขณะรับการฉายรังสี


ผู้ป่วยมะเร็งศรีษะและคอ

มะเร็งบริเวณศรีษะและคอ ได้แก่ มะเร็งสมอง มะเร็งโพรงจมูกและไซนัส มะเร็งในช่องปากมะเร็งในลำคอ มะเร็งกล่องเสียง มะเร็งต่อมน้ำลายและไทรอยด์


ผู้ป่วยมะเร็งช่องอก

มะเร็งบริเวณช่องอก ได้แก่ มะเร็งปอด มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งระบบน้ำเหลือง มะเร็งเต้านม


ผู้ป่วยมะเร็งช่องท้องและอุ้งเชิงกราน

มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งตับ มะเร็งตับอ่อน มะเร็งไต มะเร็งระบบน้ำเหลืองในช่องท้อง มะเร็งลำไส้ มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งรังไข่ และมะเร็งต่อมลูกหมาก


การดูแลผิวหนังบริเวณที่ได้รับรังสี

- ห้ามลบเส้นและห้ามเติมเส้นด้วยตนเอง
- หลีกเลี่ยงการถูกแสงแดดจัด ห้ามวางกระเป๋าน้ำร้อนหรือประคบน้ำแข็งบริเวณที่ฉาย
- ควรสวมเสื้อผ้าหลวมๆ เพื่อลดการเสียดสีกับผิวหนัง
- งดล้างหรือทำความสะอาดด้วยน้ำสบู่ ถ้าจำเป็นให้ใช้น้ำสะอาดไหลผ่านและใช้ผ้าอ่อนนุ่มซับให้แห้ง
- งดทาแป้ง ครีม เครื่องสำอางใดๆ ยกเว้นเป็นยาที่แพทย์สั่ง
***ผิวหนังบริเวณที่ฉายรังสีควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษเพราะมีความบอบบางและเกิดแผลได้ง่าย***

การดูแลสุขภาพทั่วไปขณะได้รับการรักษาด้วยรังสี

- รับประทานอาหารที่สะอาด มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ งดอาหารหมักดอง เหล้า บุหรี่ ชา กาแฟ
- ดื่มน้ำมากๆ อย่างน้อยวันละ 2 ลิตร
- พักผ่อนให้เพียงพอ ควรนอนหลับอย่างน้อย 6 – 8 ชั่วโมง
- ออกกำลังกายตามสภาพของร่างกายอย่างสม่ำเสมอ
- ทำจิตใจให้สบาย ลดความวิตกกังวล โดยการหางานอดิเรกทำ
- หากผู้ป่วยรักษาโรคอื่นร่วมอยู่ด้วย ผู้ป่วยสามารถรับประทานยาต่อไปและต้องรับการตรวจรักษาต่อกับแพทย์นั้นๆ ตามนัดสม่ำเสมอ

การดูแลผิวหนังภายหลังการฉายรังสี

หากแพทย์อนุญาตให้อาบน้ำได้ ท่าสามารถปฏิบัติได้ทันทีตามที่แพทย์แนะนำ

ถ้าแพทย์ไม่ได้แนะนำ ให้ท่านปฏิบัติตังนี้
** ถ้ามีแผลบริเวณที่ฉาย ให้งดอาบน้ำจนกว่าแผลจะแห้ง จึงเริ่มอาบน้ำได้
** ถ้าไม่มีแผลบริเวณที่ฉายรังสี
> สัปดาห์ที่ 1-2 ให้อาบน้ำได้โดยไม่ขัดถูหรือฟอกสบู่บริเวณที่ฉายและซับให้แห้งด้วยผ้านุ่ม
> สัปดาห์ที่ 3 ให้อาบน้ำได้ ฟอกสบู่ แต่ไม่ขัดถูบริเวณที่ฉายรังสี และซับให้แห้งด้วยผ้านุ่ม
> สัปดาห์ที่ 4 ให้อาบน้ำได้ตามปกติ และใช้ครีมที่มีความชุ่มชื้นนวดบริเวณที่ฉายทั้งด้านหน้าและหลังอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ทุกวันตลอดไป เพื่อป้องกันการแข็งตัวของผิวหนังจากการฉายรังสี
***หลังจากได้รับการรักษาครบแล้วแพทย์จะนัดมาตรวจติดามการรักษาต่อไปอีกระยะ ผู้ป่วยควรมารับการตรวจตามนัดทุกครั้ง***